วินยาสะโฟลว์ คืออะไร ? มาเล่นโยคะไดนามิกที่กระตุ้นให้ร่างกายแข็งแรง

ในการเล่นโยคะนั้นมีหลากหลายประเภท ตามความถนัดร่างกายและความชื่นชอบส่วนบุคคล หลายคนที่เป็นผู้เล่นมือใหม่อาจสงสัยว่า วินยาสะโฟลว์ คืออะไร? (Vinyasa Flow) สิ่งนี้คือประเภทโยคะที่มีรูปแบบการเล่นแบบไดนามิก โดยแต่ละท่าจะใช้การผสมผสานท่าทางร่วมกับการหายใจ โดยมีการจัดลำดับท่าที่คล้ายกับการเต้น เสริมสร้างความแข็งแรง ความยืดหยุ่น และสมาธิ ในบทความนี้เราจะอธิบายขยายความว่าโยคะประเภทนี้คืออะไรและมีขั้นตอนอย่างไร เพื่อให้คุณได้เรียนรู้พื้นฐานของวินยาสะโฟลว์ และวิธีนําหลักการมาประยุกต์ใช้ในการฝึกโยคะต่าง ๆ

 

ทำความเข้าใจ Vinyasa Flow

 

วินยาสะโฟลว์ คืออะไร

วินยาสะโฟลว์ คืออะไร

วินยาสะ หรือ วินยาสะโฟลว์ เป็นรูปแบบโยคะที่แต่ละท่าเชื่อมต่อกันด้วยลมหายใจเป็นจุดศูนย์กลาง โดยมีการเปลี่ยนท่าทางเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง (Dynamic) อย่างไหลเลื่อนโดยไม่ชะงัก โดยวินยาสะจะไม่มีท่าทางที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของผู้เล่นเอง

 

ความสําคัญของการหายใจ

ลมหายใจเป็นสิ่งสำคัญของการฝึกวินยาสะ ให้หายใจเข้าและหายใจออกโดยกําหนดจังหวะและความต่อเนื่องของการเคลื่อนไหว ควบคุมการหายใจและท่าทาง และประสานการหายใจของคุณให้สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวนั้น ซึ่งจะช่วยปรับปรุงสมาธิและสติของคุณได้อีกด้วย

 

การเตรียมตัวสําหรับวินยาสะโฟลว์

การเตรียมตัวสําหรับวินยาสะโฟลว์

เตรียมตัวขั้นพื้นฐาน

เมื่อเริ่มเล่นโยคะ ควรเริ่มต้นจากการสวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม เน้นขนาดเสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่นหรือใหญ่เกินไป เนื้อผ้าสามารถยืดหยุ่นและช่วยเสริมการเคลื่อนไหวอย่างมีอิสระ เมื่อหาพื้นที่ฝึก ให้คุณมองหาพื้นที่ ๆ สะดวกสบายไม่มีสิ่งกีดขวางและกางเสื่อเพื่อเตรียมพร้อม วางขวดน้ำและผ้าเช็ดตัวไว้ใกล้ตัว เพื่อป้องการร่างกายสูญเสียน้ำและเป็นประโยชน์สำหรับคนที่มีเหงื่อมาก

 

การอบอุ่นร่างกาย

เริ่มต้นด้วยการหายใจเข้าออกอย่างสบายๆ เป็นเวลาสองสามนาที เพื่อฝึกสมาธิและอุ่นเครื่องร่างกาย เราแนะนำว่าให้ใช้เทคนิคการหายใจแบบปราณยามะ เพื่อช่วยให้การเล่นโยคะมีสมาธิละประสิทธิภาพมากขึ้น เตรียมความพร้อมสําหรับการฝึกหายใจที่จําเป็นในวินยาสะโฟลว์

 

ขั้นตอนการเล่น

เริ่มต้นด้วยท่าไหว้พระอาทิตย์ (Sun Salutations)

เริ่มต้นด้วยท่าไหว้พระอาทิตย์ (Sun Salutations)

  1. ท่า Tadasana ยืนตรงให้เท้าชิดกัน มืออยู่ข้างลําตัว หายใจลึกๆ รู้สึกถึงเท้าที่ยึดเกาะกับพื้น
  2. ท่า Urdhva Hastasana หายใจเข้า แล้วเหยียดแขนออกไปด้านข้างและขึ้นเหนือศีรษะ เงยหน้าขึ้นฟ้าและมองมือ
  3. ท่า Uttanasana หายใจออกพร้อมกับก้มตัวลงจากสะโพก วางมือข้างละข้างลงข้างเท้าของคุณ
  4. ท่า Ardha Uttanasana หายใจเข้าแล้วยกลําตัวขึ้น 90 องศา วางมือบนหน้าแข้ง เงยหน้าขึ้นมองไปข้างหน้า
  5. ท่า Chaturanga Dandasana หายใจออก งอเข่า แล้วเหยียดหรือกระโดดเท้าถอยหลังออกไป ลดตัวลงในแนวตรงให้อยู่สูงจากพื้นเพียงเล็กน้อย ให้ใช้มือและเท้ารับน้ำหนักตัว
  6. ท่า Urdhva Mukha Svanasana (ท่าโคบรา) หายใจเข้าแล้วเหยียดแขน ยกอกและขาให้ห่างจากพื้น
  7. ท่า Adho Mukha Svanasana (ท่า Downward facing dog) หายใจออกแล้วยกสะโพกขึ้นและถอยหลัง ทําให้ลําตัวเป็นรูปตัววีกลับหัว

ทําซ้ำลําดับนี้อย่างน้อย 2-3 รอบ เพื่ออบอุ่นร่างกายก่อนที่จะทำท่าลำดับต่อไป

 

รวมท่ายืน

รวมท่ายืน

หลังจากอบอุ่นร่างกายจากท่าไหว้พระอาทิตย์ ให้คุณเปลี่ยนเป็นลําดับท่ายืน เช่น วีระบัตราสนะ 1 (Virabhadrasana I) และ วีระบัตราสนะ 2 (Virabhadrasana II) โดยแต่ละท่าจะไหลเวียนเข้าสู่ท่าต่อไปตามจังหวะลมหายใจของคุณ

 

เปลี่ยนเป็นท่านั่งและลําดับท่าปิด

เปลี่ยนเป็นท่านั่งและลําดับท่าปิด

เมื่อการฝึกใกล้จะสิ้นสุดลง ให้รวมท่านั่ง เช่น ท่านกพิราบ (Eka Pada Rajakapotasana) สําหรับยืดสะโพก และท่านั่งก้มตัว (Paschimottanasana) สําหรับยืดน่อง และปิดท้ายด้วย Child’s Pose จะช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความผ่อนคลายอย่างสงบ

 

ท่าปิด

เปลี่ยนเป็นท่านั่งและลําดับท่าปิด

ปิดท้ายด้วยการนอนในท่า Savasana เป็นเวลาสองสามนาที เพื่อให้ร่างกายซึมซับประโยชน์จากการฝึก

 

ประยุกต์เข้ากับชีวิตประจําวัน

ประยุกต์เข้ากับชีวิตประจําวัน

ประโยชน์จากการฝึกอย่างสม่ำเสมอ

การฝึกโยคะวินยาสะโฟลอย่างสม่ำเสมอ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของร่างกาย พร้อมทั้งปรับปรุงสมาธิและลดความเครียด อีกทั้งโยคะประเภทนี้ส่งเสริมให้มีลักษณะท่าทางที่ดีขึ้น, พัฒนาสุขภาพหัวใจและการหายใจลึกเข้าปอด นอกจากนี้ยังสนับสนุนสุขภาพจิต ปลดปล่อยความตึงเครียดจากชีวิตประจําวัน ช่วยให้จิตใจสงบและมั่นคง

การประยุกต์ใช้หลักการของวินยาสะในชีวิตประจําวัน

ความต่อเนื่องและสติในการหายใจของวินยาสะสามารถนําไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมประจําวัน ส่งเสริมความกระฉับกระเฉงและมีสติสัมปชัญญะในทุกสิ่งที่คุณทํา สําหรับผู้ที่นั่งทํางานหน้าคอมพิวเตอร์นานๆ ลองรวมท่าโยคะแก้ออฟฟิศซินโดรม เข้าไปในการฝึกประจําวัน เพื่อบรรเทาอาการตึงเครียดและอ่อนล้า หรือใช้ท่าโยคะก่อนนอน เพื่อให้นอนหลับลึกและตื่นเช้าได้อย่างสดชื่น

 

วินยาสะโฟลว์เป็นรูปแบบไดนามิกและกระตุ้นพลัง โดยประสานการหายใจเข้ากับท่าทางและส่งเสริมสมาธิผ่านการเคลื่อนไหว ด้วยการเริ่มต้นจากการหายใจขั้นพื้นฐาน และฝึกผ่านท่าไหว้พระอาทิตย์ไปสู่ลําดับท่าที่ซับซ้อนขึ้น คุณสามารถสร้างการฝึกที่ทั้งกระตุ้นพลังและสงบจิตใจได้ ด้วยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและมีสติในการหายใจตลอดเวลา เพียงแค่นี้ไม่ว่าจะเป็รผู้ฝึกโยคะเริ่มต้น หรือระดับใดก็ต่างสามารถพัฒนาทักษะและรับประโยชน์จากวินยาสะโฟลว์ได้

 

คําถามที่พบบ่อย

1. เวลาไหนเหมาะสมที่สุดสําหรับการฝึกวินยาสะโฟลว์?

วินยาสะโฟลว์สามารถฝึกได้ตลอดทั้งวัน แต่หลายคนชอบฝึกโดยเฉพาะในตอนเช้า เนื่องจากช่วยเพิ่มพลังงานและสมาธิสําหรับวันใหม่ นอกจากนี้ การฝึกในตอนเย็นจะช่วยคลายเครียดจากการทำงานทั้งวันและเตรียมความพร้อมร่างกายก่อนนอนหลับ สิ่งสําคัญคือการเลือกเวลาที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคุณ ที่สามารถช่วยฝึกได้อย่างสม่ำเสมอ

2. วินยาสะโฟลว์ช่วยลดน้ําหนักได้หรือไม่?

ได้แน่นอน วินยาสะโฟลว์เป็นรูปแบบไดนามิกและใช้แรงกายสูง ซึ่งช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ สร้างกล้ามเนื้อ และเผาผลาญแคลอรี่ โดยเฉพาะเมื่อฝึกอย่างสม่ำเสมอและร่วมกับการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

3. วินยาสะโฟลว์เหมาะสําหรับผู้เริ่มต้นหรือไม่?

วินยาสะโฟลว์สามารถปรับได้กับระดับผู้ฝึกทุกระดับ รวมถึงผู้เริ่มต้น สิ่งสําคัญคือเริ่มต้นด้วยท่าและลําดับพื้นฐาน แล้วค่อยๆ เพิ่มความยากขึ้น การฟังสัญญาณของร่างกายและฝึกในจังหวะของตนเองมีความสําคัญอย่างมาก

4. ควรฝึกวินยาสะโฟลว์บ่อยแค่ไหนจึงจะได้ผลดีที่สุด?

ความถี่ในการฝึกอาจแตกต่างกันไปตามเป้าหมายและตารางเวลาแต่ละบุคคล โดยทั่วไปการฝึก 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ จะช่วยให้เห็นความคืบหน้าด้านความแข็งแรง, ความยืดหยุ่น, และสมาธิ อย่างไรก็ตาม การฝึกทุกวันก็ให้ประโยชน์เช่นกัน หากควบคุมความเข้มข้นและระยะเวลาให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการออกแรงมากเกินไป

 

อ้างอิง

  1. Ann Pizer and RYT, “Introduction to Vinyasa Yoga”, VerywellFit, August 2022, https://www.verywellfit.com/introduction-to-vinyasa-flow-yoga-4143120.
  2. Luara Lajiness Kaupke, “What To Know About Vinyasa Yoga – The Ultimate Beginner’s Guide”, Women’s Health, July 2021, https://www.womenshealthmag.com/fitness/a36739783/vinyasa-yoga/.
  3. Courtney Sullivan, “Hatha or Vinyasa Yoga: Which One Is Right for You?” Healthline, October 2019, https://www.healthline.com/health/exercise-fitness/hatha-vs-vinyasa.

แชร์บทความ :

Facebook
Twitter

แชร์บทความ :

Facebook
Twitter

เนื้อหาบทความ