โยคะ คนท้อง การออกกำลังกายเบาๆ ที่มีประโยชน์ต่อผู้ตั้งครรภ์

โยคะ คนท้อง มีประโยชน์อย่างไรบ้าง ?

การเล่น โยคะ คนท้อง มีประโยชน์อย่างมากมาย เนื่องจาก การฝึกโยคะ ตั้งแต่ในอดีตเป็นการออกกำลังกายที่น่าสนใจและไม่มีผลข้างเคียง โดยเฉพาะสำหรับคนท้องที่ต้องการรักษาสุขภาพและสมดุลของร่างกาย นี่คือประโยชน์ของโยคะสำหรับคนท้อง

โยคะ คนท้อง มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

  1. ช่วยปรับอารมณ์และจิตใจของคุณแม่ การฝึกโยคะเป็นการฝึกหายใจ ทำจิตใจให้สงบ จะช่วยฝึกสมาธิให้กับคุณแม่ไปในตัว ซึ่งจะช่วยให้อารมณ์ของคุณแม่คงที่ ลดการหวั่นวิตกจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์ได้เป็นอย่างดี ช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิต ช่วยให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น ทำให้จิตใจโปร่งโล่งสบายขึ้น
  2. บรรเทาอาการไม่สบายที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ได้ การเจ็บปวดเนื้อตัว เจ็บปวดข้อ การเป็นตะคริว อาการคลื่นไส้ตอนเช้า เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์ทุกคน การฝึก โยคะ คนท้อง สามารถบรรเทาอาการต่าง ๆ นี้ได้ ลดอาการปวดหลัง ปวดหัว คลื่นไส้ แก้กรดไหลย้อน หายใจตื้น ตลอดจนบรรเทาอาการของเส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ ทำให้คุณแม่รู้สึกสบายตัวขึ้น
  3. ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกน้อยในครรภ์ การฝึกโยคะจะช่วยให้ร่างกายของคุณแม่หมุนเวียนเลือดได้ดี ทำให้ส่งสารอาหารไปหล่อเลี้ยงลูกน้อยได้อย่างเต็มที่ จึงช่วยให้ลูกน้อยมีการเจริญเติบโตเต็มที่ตามอายุครรภ์ที่ควรจะเป็น
  4. คุณแม่คลอดง่าย การเล่นโยคะจะทำให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นและผ่อนคลาย โดยจะช่วยยืดเส้นเอ็นและข้อต่อต่างๆ ทำให้ลดการแข็งตึงของกล้ามเนื้อระหว่างตั้งครรภ์ เพิ่มความแข็งแรง ความยืดหยุ่น และความทนทานของกล้ามเนื้อที่จำเป็นสำหรับการคลอดบุตรทำให้คลอดง่ายขึ้น อีกทั้งฝึกให้ผ่อนคลาย เมื่อถูกกระตุ้นให้รู้สึกเจ็บหรือกลัว
  5. ฟื้นฟูร่างกายหลังคลอดได้เร็ว ร่างกายของคุณแม่ที่เล่นโยคะนั้น จะช่วยให้คุณแม่กลับมามีรูปร่างที่ดีเร็วขึ้น เพราะการเล่นโยคะนอกจากช่วยรักษารูปร่างคุณแม่ให้อยู่ในสัดส่วนคงที่ระหว่างท้องแล้ว จะช่วยลดหน้าท้องหลังคลอดได้เป็นอย่างดี รวมถึงยังช่วยปรับระบบขับถ่าย และระบบหมุนเวียนเลือดให้กลับสู่สภาพปกติอย่างรวดเร็วอีกด้วย

 

คำแนะนำสำหรับการเล่นโยคะคนท้อง

คำแนะนำสำหรับการเล่นโยคะคนท้อง

หากคุณไม่เคยเล่นโยคะเลย ถ้าท้องเล่นได้ไหม? ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า “โยคะแบบปกติ” นั้นแตกต่างจาก “โยคะคนท้อง” ในส่วนที่โยคะทั่วไปนั้นฝึกความแข็งแรง ทำให้หัวใจเต้นแรงเหนื่อยง่าย แต่โยคะคนท้อง ต้องพยายามให้เหนื่อยน้อยที่สุด เพราะเป็นท่าเบาๆ เป็นท่ายืดกล้ามเนื้อ ช่วยผ่อนคลายไม่ให้ร่างกายหรือขาตึงเกินไป ดังนั้น แม้จะไม่เคยเล่นโยคะมาก่อนหน้านี้ก็สามารถฝึกเล่นได้อย่างสบาย ๆ แต่อย่างไรก็ตามหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการเล่นโยคะในเบื้องต้น ควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

  1. ปรึกษาแพทย์ หญิงตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเล่นโยคะเสมอ เนื่องจากผู้ที่มีอายุครรภ์ใกล้คลอด หรือมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับหลังหรือโรคหัวใจ อาจไม่สามารถเล่นโยคะคนท้องได้
  2. ตั้งเป้าหมาย ผู้ที่ตั้งครรภ์ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที/วัน หรืออาจน้อยกว่านั้น ซึ่งล้วนแต่เป็นผลดีต่อสุขภาพตนและทารกในครรภ์ทั้งสิ้น เพราะอาจเป็นการช่วยเตรียมความพร้อมให้ร่างกายก่อนคลอดได้ด้วย แนะนำ ท่าโยคะก่อนนอน ทั้งนี้ ควรทำเพียงท่าง่าย ๆ และทำอย่างระมัดระวังด้วย
  3. ค่อยเป็นค่อยไป ระหว่างการตั้งครรภ์ ว่าที่คุณแม่ควรระมัดระวังการเคลื่อนไหวท่าทางต่าง ๆ ให้มาก ควรขยับเปลี่ยนท่าอย่างช้า ๆ ไม่เล่นท่าที่อาจเกิดอันตรายขึ้นได้ และสังเกตสัญญาณที่บ่งบอกว่าร่างกายหักโหมจนเกินไป เช่น ไม่สามารถพูดคุยได้ตามปกติระหว่างเล่นโยคะคนท้อง
  4. รักษาอุณหภูมิและสมดุลน้ำในร่างกาย หลีกเลี่ยงการทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงเกินไป ควรเล่นโยคะคนท้องในบริเวณที่อากาศถ่ายเทสะดวกและไม่ร้อน รวมถึงดื่มน้ำปริมาณมากทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการเล่นโยคะ

 

นอกจากนี้ การเล่นโยคะคนท้องอาจเกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น และมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น หากเล่นอย่างเหมาะสมตามคำแนะนำในแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์ ดังต่อไปนี้

ไตรมาสที่ 1 (0 ถึง 13 สัปดาห์)

แม้การเล่นโยคะคนท้องในช่วงแรกอาจยังไม่มีข้อห้ามหรือข้อจำกัดมากนัก แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มเล่นโยคะคนท้องเสมอ และให้ครูผู้สอนที่ชำนาญโยคะคนท้องช่วยฝึกวิธีการเล่นที่ถูกต้องให้ก่อน หายใจเข้าลึก ๆ อย่างสม่ำเสมอในขณะยืดเหยียดตัวด้วยท่าต่าง ๆ ของโยคะคนท้อง ดื่มน้ำปริมาณมากทั้งก่อน หลัง และในระหว่างที่เล่นโยคะคนท้อง และปรึกษาครูผู้สอนถึงการปรับเปลี่ยนท่าทาง หากรู้สึกเจ็บปวด หรืออึดอัด ไม่สบายตัวระหว่างที่เล่นโยคะคนท้อง

ไตรมาสที่ 2 (14 ถึง 28 สัปดาห์)

ระวังเรื่องการทรงตัว เพราะท้องที่โตขึ้นอาจทำให้ร่างกายเสียสมดุล ค่อย ๆ เปลี่ยนท่าทางเวลาเล่นโยคะคนท้องอย่างช้า ๆ และระมัดระวัง เพราะในช่วงนี้ ข้อต่อต่าง ๆ อาจเริ่มหลวมขึ้น ไม่ค้างแต่ละท่าไว้นานเกินกว่าร่างกายรับไหว ไม่หักโหมจนเหนื่อยมากเกินไป ไม่ฝืนอยู่ในท่าที่ไม่สบายตัวหรือทำให้เกิดความเจ็บปวด และใช้หมอนหนุนช่วงบนของร่างกายหากต้องอยู่ในท่านอนราบ

ไตรมาสที่ 3 (29 ถึง 40 สัปดาห์)

ควรขยับเคลื่อนไหวร่างกายเรื่อย ๆ ไม่ค้างอยู่ในท่าเดียวเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้เลือดไหลเวียนเข้าสู่หัวใจช้าลง โดยในขณะทำท่ายืน ให้ยืนพิงหลังติดกำแพงเสมอ อาจใช้เก้าอี้ช่วยทรงตัว เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายต่อตนเองและทารกในครรภ์จากการเสียสมดุล อาจใช้อุปกรณ์เสริม เช่น แท่งไม้ หรือสายรัด เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวท่าทางต่าง ๆ

 

อย่างไรก็ตาม การฝึกโยคะสำหรับคนท้องควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการฝึกอย่างมาก เนื่องจากการฝึกโยคะแบบไม่ถูกวิธีอาจส่งผลกระทบต่อการคลอดและสุขภาพของแม่และทารกได้ ดังนั้น ก่อนที่จะเริ่มฝึกโยคะคนท้อง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสอบสุขภาพ เลือกฝึกโยคะกับผู้มีประสบการณ์และมีความรู้เกี่ยวกับการฝึกโยคะสำหรับคนท้อง จะช่วยให้การฝึกโยคะของคุณปลอดภัยและเหมาะสม และควรฝึกโยคะแบบเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ร่างกายของคุณปรับตัวได้ และห้ามฝึกหนักอย่างเด็ดขาด

 

อ้างอิง : 

แชร์บทความ :

Facebook
Twitter

แชร์บทความ :

Facebook
Twitter

เนื้อหาบทความ