ประวัติ โยคะเบื้องต้น มารู้จักความเป็นมาของโยคะก่อนฝึกเล่น

ประวัติของโยคะ มารู้จักความเป็นมาก่อนเล่น

โยคะเบื้องต้น มารู้จักความเป็นมาของโยคะก่อนฝึกเล่น โยคะ มีรากศัพท์มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า “ยุจ (YUJ)”  ซึ่งมีความหมายว่า การประกอบกันหรือการเชื่อมผนึกกัน โดยโยคะได้ถือกำเนิดขึ้นมาจากประเทศอินเดียเมื่อหลายพันปีที่แล้ว ในสมัยก่อนมนุษย์จะจารึกข้อความสำคัญไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้สารนั้นถูกส่งต่อผ่านคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งจนทำให้มีการค้นพบวิธีฝึกโยคะในหุบเขาแห่งอินดัส วอลเลย์ เป็นไม้แกะสลักและศิลปะรูปปั้นที่แสดงถึงท่าทางการฝึกโยคะ โดยนักโบราณคดีระบุว่าศิลปะเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นโดยประชาคมที่มีความเจริญเป็นอย่างสูงที่อยู่ในพื้นที่แถบนั้นช่วง 1,000-2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช (ปัจจุบันอยู่ในแถบประเทศปากีสถาน) ซึ่ง ปตัญชลี เป็นนักปราชญ์ชาวฮินดูคนแรกที่วางแนวทางโยคะขั้นพื้นฐานไว้

โยคะเบื้องต้น

โยคะเป็นที่รู้จักในวงกว้างได้อย่างไร?

ลองมาดูประวัติความเป็นมาของ โยคะเบื้องต้น ซึ่งจุดเริ่มต้นที่ทำให้โยคะกลายมาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั่วโลกคือตอนที่ประเทศทางแถบตะวันตกได้พัฒนาโยคะให้เป็นการออกกำลังกายโดยดัดแปลงจาก Hatha-Yoga ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของโยคะ โดยจะเน้นที่ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลัง รวมถึงระบบประสาท เพื่อให้การทำงานของร่างกายไปจนถึงการหมุนเวียนโลหิตดีขึ้น ทำให้ผู้ที่เล่นโยคะได้ประโยชน์ ทั้งการฝึกร่างกาย ระบบการหายใจ การฝึกสมาธิและจิตใจให้ดีขึ้น จึงทำให้โยคะเข้ามาเป็นที่รู้จักในสังคมอย่างแพร่หลายทั่วโลก

 

ประเภทของโยคะ

การเล่นโยคะ ไม่ได้มีแค่การยืดหยุ่นและเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่มันยังช่วยในอีกหลาย ๆ ด้านทั้งด้านสติ สมาธิและจิตใจ จึงมีการแบ่งประเภทของการเล่น โยคะเบื้องต้น เพื่อให้ผู้เล่นเลือกฝึกในแบบที่เหมาะสมกับความต้องการของตัวเอง 10 แบบ ดังนี้

 

1. หฐโยคะ (Hatha Yoga)

เป็นการฝึกใช้ศิลปะในการบริหารร่างกายเพื่อควบคุมจิตใจให้เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและลบ โดยจะเน้นที่การฝึกหายใจและความยืดหยุ่นของร่างกายเพื่อให้เกิดความผ่อนคลายมากกว่าการสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ

2. วินยาสะ (Vinyasa Yoga)

เป็นการฝึกลมหายใจอย่างเป็นระบบ ประกอบกับการเคลื่อนไหวช้า ๆ อย่างต่อเนื่องจากท่าหนึ่งไปยังอีกท่าหนึ่ง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงเหมาะสำหรับผู้ที่อยากมีรูปร่างกระชับ น้ำหนักลดลง และช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ทั้งยังช่วยลดความเครียดและฝึกจิตใจให้สงบก่อให้เกิดสมาธิได้ หรือการฝึก โยคะแบบปราณายามะ

3. อัษฎางค์โยคะ (Ashtanga Yoga)

เป็นการฝึกท่าที่ต้องใช้ร่างกาย ลมหายใจ และดริชตี้ (การกำหนดจุดมองของสายตา) รวมกัน เหมาะสำหรับคนที่ชอบเล่นท่ายาก ๆ เพราะต้องเคลื่อนไหวพร้อมกับควบคุมลมหายใจตลอดการฝึก

ประเภทของโยคะ

4. อนุสราโยคะ (Anusara yoga)

เป็นการฝึกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือสามารถนำไปฝึกเพื่อใช้ในการบำบัดรักษาโรคได้ ใช้ทุกส่วนของร่างกายทั้งจิตใจ หัวใจ การฝึกและปฎิบัติท่า ซึ่งจุดประสงค์ของอนุสราโยคะ ก็คือการพัฒนาจิตใจและความมุ่งมั่นไปพร้อม ๆ กัน

5. โยคะร้อน (Bikram Yoga)

การฝึกโยคะในห้องที่มีอุณหภูมิสูงใกล้เคียงกับอุณหภูมิร่างกายคือประมาณ 36-37 องศาเซลเซียส เป็น การฝึกโยคะร้อน เพื่อให้กล้ามเนื้อสามารถยืดหยุ่นได้มากกว่าเดิม อีกทั้งยังช่วยให้กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายกระชับได้มากขึ้น ช่วยกำจัดของเสียให้ออกมาทางเหงื่อ ลดปัญหาการปวดหลัง ปวดคอ และทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น

6. ไอเยนคาร์โยคะ (Iyengar Yoga)

เป็นโยคะที่เน้นเรื่องการจัดท่าให้น้ำหนักกระจายผ่านแขน ขา และกระดูกสันหลังอย่างถูกต้องและเหมาะสมเพื่อความปลอดภัย โดยต้องใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยในการฝึก เช่น เข็มขัดโยคะ หมอนรอง เก้าอี้ ผนังห้อง เป็นต้น

7. กฤปาลูโยคะ (kripalu Yoga)

เป็นโยคะที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางด้านร่างกายหรือต้องการฝึกสมาธิโดยเฉพาะ โดยจะเน้นการเคลื่อนไหวไปที่ด้านสมาธิคล้ายกับแบบอาสนะโดยเฉพาะ

ประเภทของโยคะ

8. พรีเนทัลโยคะ (Prenatal Yoga)

เป็นโยคะที่เหมาะสำหรับสตรีมีครรภ์โดยจะปรับท่าทางมาให้เหมาะสำหรับคุณแม่ก่อนคลอดโดยเฉพาะเพื่อเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและให้คุณแม่ได้ผ่อนคลายทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งยังช่วยลดความปวดเมื่อยล้า โดยคุณแม่หลังคลอดก็สามารถเล่นได้

9. เรสโตเรทีฟโยคะ (Restorative Yoga)

เป็นโยคะที่เน้นการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจหลังจากทำงานหนักหรือมีความเครียด โดยแต่ละท่านั้นจะอยู่นานประมาณ 10-15 นาที ทำให้ผู้เล่นรู้สึกผ่อนคลายและสบายอย่างยิ่ง

10. หยินโยคะ (Yin Yoga)

เป็นการฝึกที่เน้นความนิ่ง การค้างท่า การยืดเหยียดของร่างกายไปจนถึงเนื้อเยื่อที่เกี่ยวพันกันทั้งผิวหนัง กล้ามเนื้อ ข้อต่อ และเส้นเอ็นต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างให้ร่างกายมีการยืดหยุ่นที่ดีขึ้น

 

โยคะ (Yoga) เป็นศาสตร์การออกกำลังกายและปฏิบัติการตามแนวคิดศิลปะเพื่อสร้างสมดุลระหว่างร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ และเป็นการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลกในปัจจุบัน การปฏิบัติโยคะเน้นให้ความสำคัญกับการควบคุมหายใจ การยืดเหยียดตัว และความตั้งใจ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ลดความเครียด ปรับสมดุลร่างกายและจิตใจ ลดอาการเจ็บป่วย และช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โยคะเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ไม่ว่าจะอายุน้อยหรือวัยชรา และเป็นการออกกำลังกายที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์เสริมความหลากหลายในการฝึกเล่นนัก

 

อ้างอิง 

แชร์บทความ :

Facebook
Twitter

แชร์บทความ :

Facebook
Twitter

เนื้อหาบทความ